เทพเจ้ากวนอู เดิมชื่อ 'เผิงเสียน' ชื่อรอง 'โซ่วฉาง' ในสำเนียงจีนกลาง อ่านว่า หยุนฉาง (云长)
แต่ แต้จิ๋วจะอ่านว่า หุนเตี๋ยง) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีน ในศักราชเอี่ยงฮี ปีพุทธศักราช 703
ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นฮวนเต้ และเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 12 เดือน 7 จีน ในศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี
พุทธศักราช 762 ในรัชสมัยของ พระเจ้าฮั่น เฮี่ยนเต้
กวนอูเป็นน้องร่วมสาบานคนรองของเล่าปี่ และเตียวหุย หน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก จักษุ
เรียวงามคล้ายนกการเวก คิ้วโก่งดั่งตัวหนอนไหม หนวดเคราสีดำงาม ยาวละเอียด ท่านเป็น
ชาวอำเภอไก่เหลียง มีรูปร่างสูงใหญ่กำยำ ราว 9 ฟุตจีน หรือประมาณ 6 ศอก หนวดยาว 1 ศอก
มีอาวุธเป็นง้าวรูปจันทร์เสี้ยว เรียกว่า “ ง้าวมังกรเขียว ” หรือ “ ง้าวมังกรจันทร์ฉาย ” ยาว 11 ศอก
หนัก 82 ชั่ง
กวนอู กำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงคราม และคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว
ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ ท่านพบกับเศรษฐีคนหนึ่งรังแกชาวบ้าน จึงฆ่าเศรษฐีคนนั้นตาย ชาวเมืองไก่เหลียง
ต่างยกย่องท่าน แต่ทางการกลับประกาศจับ ท่านจึงต้องหลบหนีออกจากเมืองไก่เหลียง เร่ร่อนไปทั่ว
ประเทศจีน เป็นเวลานานถึง 6 ปี จนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธ จึงสอบถามชื่อแซ่ท่าน ด้วย
อารามตกใจ ท่านจึงชี้ไปที่ชื่อด่าน “ ถงกวน ” ( ในภาษาจีนกลางคำว่า “ กวน ” แปลว่า “ ด่าน ” )
ทำให้นายด่านนั้นเข้าใจว่าท่านแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมาท่านจึงเปลี่ยนชื่อจาก เผิงเสียน เป็น
กวนอู
ระหว่างการหลบหนีผ่านด่านนอกเมืองนั้น ท่านได้ไปล้างหน้า เทพเจ้าได้ดลบรรดาลให้หน้า
เปลี่ยนเป็นสีแดงจนนายด่านจำหน้าไม่ได้ จึงผ่านออกมาได้ ต่อมาองค์กวนอูได้พบกับเล่าปี่และ
เตียวหุยที่ตุ้นก้วน ทั้งสามจึงสาบานเป็นพี่น้องกันในสวนดอกท้อ ต่อมาองค์กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่
ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบ แต่เล่าปี่กลับได้เป็นแค่นายอำเภออันห้อก้วน ส่วนน้องทั้งสองก็
ไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ยังคงเป็นเพียงคนสนิทของเล่าปี่เหมือนเดิม ต่อมามีเจ้าเมืองชื่อต๊กอิ้วมาตรวจ
ราชการอำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนให้จึงถูกต๊กอิ้วเขียนฎีกาถวายฮ่องเต้ว่าเล่าปี่กบฏ เตียวหุย
โกรธจัดจึงเฆี่ยนต๊กอิ้ว เล่าปี่เห็นท่าไม่ดี จึงหนีออกมาพร้อมกับน้องทั้งสอง ต่อมาทั้งสามก็ได้ระหก
ระเหินเร่ร่อน กวนอูนั้นก็ได้สร้างวีรกรรมมากมาย ทั้งการบุกเดี่ยวหนีออกมาจากโจโฉมาหาเล่าปี่ทั้ง ๆ
ที่โจโฉพยายามทำทุกวิถีทางที่จะมัดใจกวนอู แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของ
โจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็ก โจโฉ แตกทัพ หนีไปตามเส้นทางฮัวหยง ท่านก็ได้รับมอบหมายจาก
ขงเบ้ง ให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุมโจโฉ แต่ทว่าโจโฉ กลับพูดจาให้องค์กวนอูระลึกถึงบุญคุณ
ครั้งก่อน จนท่านใจอ่อน ยอมปล่อยให้โจโฉหลุดรอดไป
ครั้นเมื่อองค์เล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิครองเสฉวน ก็ได้แต่งตั้งให้องค์กวนอูเป็น 1 ใน 5
ทหารเสือแห่งจ๊กก๊กขององค์เล่าปี่ และไปครองเมืองเกงจิ๋ว ร่วมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมและจิวฉอง
ต่อมาซุนกวนได้มอบหมายให้โลซกมาเจรจา ขอเกงจิ๋วคืน ทำทีแสร้งเชิญองค์กวนอูมากินเลี้ยงที่กังตั๋ง
เพื่อหมายจะซุ่มทำร้ายท่าน ท่านก็ไม่หวั่นเกรงใดๆ บุกเดี่ยวข้ามฟากไปยังกังตั๋ง เพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญ
โดยโลซกและทหารที่แอบซุ่มอยู่รอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ท่านได้
ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉ นำทัพเข้าโจมตีเกงจิ๋ว องค์กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบอง
และลกซุน สองแม่ทัพแห่งกังตั๋ง จนเสียเกงจิ๋ว ท่านพยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสีย เพื่อ
ชิงเกงจิ๋วกลับคืน แต่โดนกลอุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้ท่านยอมจำนนและ
สวามิภักดิ์ แต่ก็ไม่สำเร็จ ซุนกวนจึงสั่งประหารองค์กวนอู พร้อมกับ กวนเป๋งบุตรบุญธรรม ในเดือน
สิบสองของปี พ.ศ. 762 ด้วยความจงรักภักดี และซื่อสัตย์ องค์กวนอูจึงถูกยกย่องให้เป็น "เทพเจ้า
แห่งความซื่อสัตย์" ที่มีผู้คนนับถือมากมาย มาจน ถึงปัจจุบัน
ภายหลังจากที่องค์กวนอูตายไปแล้ว ซุนกวนได้ส่งศีรษะกวนอูไปให้โจโฉที่ฮูโต๋ หมายจะป้าย
ความผิดไปยังโจโฉ ให้องค์เล่าปี่เชื่อว่าโจโฉน้ันเป็นผู้สั่งประหารองค์กวนอู เล่าปี่จะได้ยกทัพไปทำ
ศึกกับโจโฉ แต่โจโฉรู้เท่าทันกลอุบายของซุนกวน จึงคิดจัดงานศพให้แก่องค์กวนอูอย่างสมเกียรติ โดยนำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะองค์กวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตาม บรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่
ครั้นเมื่อโจโฉเปิดหีบศีรษะขององค์กวนอูดู ก็พูดอย่างเยาะเย้ยว่า "กวนอู ท่านสบายดีหรือ ตอน
ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านไม่เคยมาหาข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าจะรั้งตัวท่านไว้ ท่านก็ไม่ยอมอยู่ แต่บัดนี้ท่าน
ตายแล้ว กลับมาหา ข้าพเจ้า" พลันหัวขององค์กวนอูก็ลืมตาขึ้น โจโฉตกใจมาก ระล่ำระลักว่า กวนอู
นี้ศักดิ์สิทธิ์นัก สั่งการให้ทหารทั้งหมดแต่ง กายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋ว
และนำศีรษะขององค์กวนอูฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยง หรือลัวหยางทางด้านทิศใต้ จารึกอักษรที่หลุม
ฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ทั้งยังให้ตั้งศาลบูชากวนอู ที่นอกเมือง ลกเอี๋ยงอีกด้วย ต่อมา
หลังจากนั้นโจโฉก็มักจะปวดศีรษะ และเห็นภาพหลอนอยู่บ่อย ๆ ไม่นานก็เสียชีวิตลง
ส่วนลิบองผู้ที่เคยจับตัวองค์กวนอูได้นั้น ในงานเลี้ยงฉลองชัยชนะที่มีต่อกวนอู จู่ ๆ ลิบองก็ลุก
ขึ้นมาชี้หน้าด่าซุนกวนด้วยเสียงอันดังที่ผิดแผกออกไปจากเสียงปกติ แล้วก็ล้มลงสิ้นชีวิตในทันที
ซุนกวนนั้นถึงกับกลัวลนลาน ซึ่งหลายคนเชื่อว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพราะอิทธิฤทธิ์ดวงวิญญาณขององค์
กวนอู
อาวุธประจำกายขององค์กวนอู สร้างขึ้นเมื่อคราวที่องค์เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยออกเกลี้ยกล่อม
ราษฎร และรวบรวมกำลังไพร่พล เพื่อจัดตั้งกองทัพออกต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลือง โดยมีพ่อค้าม้า
ชื่อเตียวสิเผง และเล่าสง ได้ร่วมบริจาคม้าจำนวน 50 ตัว, เงิน 500 ตำลึง และเหล็ก 100 หาบ
สำหรับสร้างเป็นอาวุธ
องค์เล่าปี่ได้ให้ช่าง ตีเหล็กเป็น “กระบี่คู่แบบโบราณ” ขณะที่องค์เตียวหุยให้ช่าง ตีเหล็กเป็น “ทวน”
ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายงู และสำหรับองค์กวนอู ท่านให้ช่าง ตีเหล็กเป็น “ง้าว” ขนาดใหญ่ รูปจันทร์
เสี้ยว ประดับลวดลายมังกร มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ชิงหลงเหยี่ยนเยฺว่เตา” (จีนตัวเต็ม: 青龍偃月刀;
พินอิน: qīnglóng yǎnyuèdāo) หรือ “ง้าวมังกรเขียว” (บ้างก็เรียก "ง้าวมังกรจันทร์ฉาย")
ตลอดระยะเวลาในการตรากตรำทำศึกสงคราม ร่วมกับองค์ เล่าปี่ และองค์เตียวหุย องค์กวนอูจะ
ใช้ง้าวมังกรเขียวเป็นอาวุธประจำกายตลอดเวลา จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อคราวโจโฉทำศึกกับตั๋งโต๊ะ
ท่านก็ใช้ง้าวมังกรเขียวตัดคอฮัวหยง มาให้โจโฉที่หน้าค่ายด้วยความรวดเร็ว โดยที่ยังไม่ทันจบเพลง
รบ และเหล้าที่โจโฉอุ่นมอบให้แก่ท่านยังคงอุ่นๆ หรือจะเป็น คราวที่ท่านสังหารงันเหลียง และบุนทิว
สองทหาร เอกของอ้วนเสี้ยว ในคราวศึกตำบลแปะแบ๊ ก็ด้วยง้าวมังกรเขียว ใน เพลงเดียวเช่นกัน
ตลอดระยะเวลาการทำศึก องค์กวนอูไม่เคยห่างจากง้าวมังกรเขียว แม้กระทั่งเมื่อองค์เล่าปี่ให้
ท่านไปกินตำแหน่งเจ้าเมืองเกงจิ๋ว ร่วมกับกวนเป๋ง และจิวฉอง ท่านก็มอบหน้าที่ให้จิวฉองดูแลรักษา
ง้าวมังกรเขียว และถือแทนท่านจิวฉองก็คอยติดตามถือง้าวมังกรเขียวเคียงข้างท่านตลอด เมื่อคราว
ที่ท่านพลาดท่าเสียทีลิบอง และลกซุนจนถูกล้อมอยู่ที่เมืองเป๊กเสีย ก่อนจะนำกำลังทหารจำนวนร้อย
คนหักตีฝ่าออกมา จนถูกจับตัวได้พร้อมกับกวนเป๋ง และถูกประหารชีวิตในภายหลังง้าว ของท่านก็ถูก
พัวเจี้ยงยึดเอาไปใช้ แต่กวนหินบุตรชายของท่านก็เป็นผู้สังหารพัวเจี้ยง และนำง้าวขององค์กวนอูกลับ
คืนมา
องค์กวนอูเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีน และคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชา และศรัทธาเลื่อมใส
เป็นอย่างมาก องค์กวนอูเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพ กราบไหว้บูชาในฐานะที่เป็น "เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ" ไม่เพียงแต่ยกย่องให้ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่ออย่างเดียวเท่า
นั้น หากแต่กวนอูได้รับสมญานามให้เป็นถึง “จงอี้เสินอู่กวนเสิ้งต้าตี้ “ (จีนตัวเต็ม: 忠義神武關聖大帝
; พินอิน: Zhōngyì Shénwǔ Guān Shèngdàdì) ซึ่งมีความหมายว่า "มหาเทพกวน ผู้ยิ่งใหญ่แห่งความจง
รักภักดี คุณธรรม และความกล้าหาญ" โดยพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้แต่งตั้ง เมื่อปี
พ.ศ. 2187 เพื่อ เป็นการสร้างจิตสำนึก เรื่องความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ราษฎร
ซึ่งคนจีนถือความสัตย์ เป็นใหญ่ ร่วมกับความกตัญญูรู้คุณคน ทำให้องค์กวนอู กลายเป็นที่รู้จักไปทั่ว
และได้รับการยกย่องให้เป็น "เทพเจ้าแห่ง ความซื่อสัตย์" สืบต่อมาเป็นเวลานาน นอกเหนือจากนี้
แล้ว องค์กวนอูยังได้รับการเคารพในฐานะ เทพอุปถัมภ์ และเทพผู้ปกป้องคุ้มครองของตำรวจ,
นักการเมือง และผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ
รูปปั้นขององค์กวนอู ที่พบเห็นกันจะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1) องค์กวนอู ยืนถือง้าวมังกรเขียวจันทร์เสี้ยว เหมาะสำหรับคนที่ทำงาน กินเงินเดือนบูชา
2) องค์กวนอู นั่งบนหลังม้าเซ็กเทาว์ ในมือถือง้าว เหมาะสำหรับฝ่ายบู๊ คนที่รับราชการ ทหาร,
ตำรวจบูชา
3) องค์กวนอูครองเมือง (ประทับบนบัลลังก์) เหมาะสำหรับฝ่ายบุ๋น คนที่ทำธุรกิจ และชาวบ้านทั่วไป
บูชา